ประวัติเทศบาลตำบลบ้านนา
ตำบลบ้านนาเป็นตำบลที่เก่าแก่ตำบลหนึ่ง เดิมท้องที่ตำบลบ้านนา เป็นหมู่ที่ 2 ของตำบลกระแสบน ต่อมาได้แยกออกมาเป็นตำบลบ้านนา ยกฐานะเป็นตำบลบ้านนา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2445 ยกฐานะขึ้นเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ปัจจุบันได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านนาเป็นเทศบาลตำบลบ้านนา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลบ้านนา สำนักงานตั้งอยู่ เลขที่ 379/1 หมู่ที่ 8 ถนนโพธิ์ทอง เนินอู่ทอง ตำบลบ้านนา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 21110 ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของอำเภอแกลง ระยะห่างจากตัวอำเภอแกลงประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดระยองประมาณ 60 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ตามทางหลวงหมายเลข 3 ห่างจากสุนทรภู่ประมาณ 20 กิโลเมตร ไปแหลมแม่พิมพ์ 25 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดจันทบุรีประมาณ 66 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
เทศบาลตำบลบ้านนามีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลทางเกวียน , ตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลทุ่งควายกิน , อำเภอแกลง , ตำบลน้ำเป็นอำเภอเขาชะเมา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลทางเกวียน , ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง
เนื้อที่
เทศบาลตำบลบ้านนามีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 67.92 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 42,450 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของตำบลบ้านนา ตอนบนเป็นที่ราบสูงเชิงเขา สภาพดินเป็นดินเหนียวปนดินลูกรัง เหมาะแก่การปลูกยางพารา และไม้ยืนต้น ตอนล่างของตำบลเป็นที่ราบลุ่ม ดินมีลักษณะเป็นดินร่วน และดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ถึงสูง เหมาะแก่การปลูกพืชไร่และข้าว ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีคลองน้ำไหลผ่าน คือ คลองน้ำประแสร์ คลองบุญสัมพันธ์
ปัจจุบันเทศบาลตำบลบ้านนามีพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 13 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 บ้านแหลมไผ่
ประวัติหมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา แยกมาจากตำบลกระแสบน เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2445 เมื่อครั้งนั้นบริเวณพื้นที่ของหมู่ที่ 1 จะมีแม่น้ำประแสร์ ไหลผ่าน และในบริเวณคุ้งน้ำจะมีกอไผ่ป่ากอใหญ่ ลักษณะของกอไผ่ป่าจะคล้ายไผ่สีสุกแต่ มีหนาม จะใช้ไผ่ป่ามาเลาเพื่อ จักสานกระบุง/ทำลอบ หรืออุปกรณ์ในการหาปลา จึงเป็นที่มีของชื่อหมู่บ้าน ว่า แหลมไผ่ ปัจจุบันมี นายปรารถนา พันธุนะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 2,266 ไร่
พื้นที่ทำการเกษตร 2,245 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 123 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 547 คน แบ่งเป็น
- ชาย 273 คน
- หญิง 274 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำประแสร์ไหลผ่าน จึงเป็นแอ่งรองรับน้ำ เป็นผลให้น้ำท่วมทุกปี
พื้นที่หมู่ที่ 1 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลเมืองแกลง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 12 ตำบลทุ่งควายกิน
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลเมืองแกลง
ด้านการศึกษา มีโรงเรียน 2 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ของหมู่ที่ 1
หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งเค็ด
หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านนา แยกมาจากตำบลกระแสบน ประมาณ ปี พ.ศ.2445 สมันนั้นมีกำนันเกิด ใจเย็น เป็นผู้ใหญ่บ้าน ในบริเวณพื้นที่ของหมู่ที่ 2 จะมีแม่น้ำห้วยมะไฟไหลผ่าน ซึ่งแยกมาจากคลองวังยาง และจะมีต้นเค็ดอยู่ในที่ลุ่มกลางหมู่บ้าน มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง คล้ายต้นหว้า สมัยก่อน จะนำมาทำเป็น เพลาเกวียน ปัจจุบันมีน้อยมาก ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณที่มีต้นเค็ดขึ้นอยู่ ว่าทุ่งเค็ด ปัจจุบันมี นายสุเนตร ใจเย็น เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ลักษณะทั่วไป
มีพื้นที่ทั้งหมด 1,851 ไร่
พื้นที่ทำการเกษตร 1,834 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 144 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 613 คน แบ่งเป็น
- ชาย 305 คน
- หญิง 308 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีลำรางสำนักยาง และลำน้ำห้วยมะไฟมาบรรจบรวมกัน มีชื่อเรียกว่า คลองวังน้ำขาว ไหลผ่านหมู่บ้าน
พื้นที่หมู่ที่ 2 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านนา
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านนา
หมู่ที่ 3 บ้านห้วงหิน
เดิมหมู่ที่ 3 ตำบลบ้านนา แยกมาจากตำบลกระแสบน เมื่อ พ.ศ.2445 โดยมีผู้ใหญ่ละเมียด จุลเจือ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน ปัจจุบันพื้นที่ของหมู่ที่ 3 ได้แยกเป็นอำเภอเขาชะเมา และแยกเป็น หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 11 ของตำบลบ้านนา บริเวณกลางหมู่บ้านจะเป็นเนิน ที่มีหินดานสีขาวเป็นจำนวนมากทำประโยชน์อะไรไม่ได้ ชาวบ้านจึงยกให้เป็นที่ของวัด ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของโบสถ์ จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ว่า ห้วงหิน
ปัจจุบันมีนายอมร ศึกษา เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 3,245 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 153 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 782 คน แบ่งเป็น
- ชาย 384 คน
- หญิง 398 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่เนินสูง และลาดต่ำลงบริเวณคลองที่รองรับคือคลองห้วงหิน ซึ่งเป็นคลองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
พื้นที่หมู่ที่ 3 อยู่ทางตะวันตกของตำบลบ้านนามีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลชำฆ้อ กิ่งอำเภอเขาชะเมา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านนา
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านนา
หมู่ที่ 4 บ้านหนองจระเข้
หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านนา แยกมาจากหมู่ที่ 3 ตำบลบ้านนาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2445 สมัยนั้นมีนายพลัด สุพรรณวงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน บริเวณพื้นที่ของหมู่ที่ 4 จะมีหนองน้ำ หลายแห่ง เนื่องจากติดกับแม่น้ำประแสร์ มีตำนานเล่าต่อ ๆ กันมาว่ามีจระเข้ตัวใหญ่ในหนองน้ำ จึงเป็นที่มีของชื่อหมู่บ้าน ว่า หนองจระเข้ ปัจจุบัน มี นายวิทูรย์ สุพรรณวงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 1,739 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 62 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 344 คน แบ่งเป็น
- ชาย 173 คน
- หญิง 171 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำประแสร์ผ่านหมู่บ้าน จึงเป็นแอ่งรองรับน้ำ เป็นผลให้น้ำท่วมในพื้นที่ หมู่ที่ 4 เป็นประจำทุกปี
พื้นที่หมู่ที่ 4 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลทางเกวียน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา
หมู่ที่ 5 บ้านอู่ทอง
หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านนา แยกมาจากหมู่ที่ 3 บ้านห้วงหิน ตำบลบ้านนา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2526 สมันนั้นมีนายวิโรจน์ จุลเจือ เป็นผู้ใหญ่บ้าน สมัยก่อน จะมีบ้านเรือนไม่กี่หลังคาเรือนและจะตั้งอยู่บริเวณที่ห่างกัน โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ติดริมคลอง บริเวณแถบริมคลองจะมี คุ้งน้ำ คือบริเวณที่เป็นอ่าวเข้ามาในพื้นดิน มี 2 คุ้ง คือคุ้งของยายอู่ และคุ้งของตาทอง ต่อมาจึงนำมารวมกันเป็นชื่อของหมู่บ้านว่า อู่ทอง ปัจจุบันมี นายเสย รัตนมหาไพศาล เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 3,171 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 158 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 749 คน แบ่งเป็น
- ชาย 369 คน - หญิง 380 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีสระน้ำหนองสบสือ เนื้อที่ ประมาณ 84 ไร่ เป็นแหล่งน้ำด้านการเกษตร
พื้นที่หมู่ที่ 5 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำประแสร์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านนา
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านนา
หมู่ที่ 6 บ้านสำนักยาง
หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านนา แยกมาจากหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งเค็ด ตำบลบ้านนา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2526 สมัยนั้นมี นายชนะ ใจเย็น เป็นผู้ใหญ่บ้าน ในสมัยก่อนบริเวณพื้นที่ของหมู่ที่ 6 จะมีต้นยางป่าลำต้นใหญ่ ซึ่งชาวบ้านแถบนั้นจะเจาะเอาน้ำมันของต้นยางใหญ่มายาเรือ หรือทำใต้จุดไฟ และบริเวณนี้จะเป็นจุดที่พักของคนเดินทางเกวียนสมัยก่อน จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านว่า สำนักยาง ปัจจุบันมี นายอรุณ สุทธิ์สถิตย์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 7,932 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 158 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 749 คน แบ่งเป็น
- ชาย 369 คน
- หญิง 380 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่เนินสูง และราบลุ่มมีลำรางสำนักยาง ไหลผ่านหมู่บ้าน
พื้นที่หมู่ที่ 6 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ กิ่งอำเภอเขาชะเมา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 3, 9,11 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ กิ่งอำเภอเขาชะเมา
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 13 , 2 ตำบลบ้าน
หมู่ที่ 7 บ้านเนินกระท้อน
หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านนา แยกมาจากหมู่ที่ 3 บ้านห้วงหิน ตำบลบ้านนา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2529 สมันนั้นมีนายสีนวล สุทธิสถิตย์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน บริเวณพื้นที่ของหมู่ที่ 7 จะมีสภาพเป็นเนินดินลูกรังสูง และจะมีต้นกระท้อนสูงใหญ่โบราณ อยู่หลายต้นจึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ว่า เนินกระท้อน ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2546 นายนิติ บำรุงราษฎร์ เป็นผู้ใหญ่บ้านจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 2,070 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 162 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 763 คน แบ่งเป็น
- ชาย 377 คน
- หญิง 286 คน
-
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเนินดินลูกรังสูง
พื้นที่หมู่ที่ 7 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านชำฆ้อ กิ่งอำเภอเขาชะเมา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลกระแสบน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านนา
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 5,11 ตำบลบ้าน
หมู่ที่ 8 บ้านบุญสัมพันธ์
แยกมาจากหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งเค็ด ตำบลบ้านนา เมื่อปี พ.ศ.2529 ซึ่งในสมันนั้นได้มีการขุดคลองเพื่อใช้ในด้านการเกษตร (โดยใช้งบประมาณของ รสช.) ผ่านจำนวน 4 ตำบล คือตำบล กระแสบน ทางเกวียน ทุ่งควายกิน และตำบลบ้านนา (ในบริเวณพื้นที่ของหมู่ที่ 2,8,9) และด้วยที่ประชาชนในตำบลบ้านนาจะนับถือหลวงปู่บุญ จึงได้ใช้ชื่อของหลวงปู่นำหน้า ประกอบกับนายอำเภอประพันธ์ ชลวีระวงศ์ ซึ่งเป็นนายอำเภอสมัยนั้น ได้นำงบประมาณโครงการ รสช. มาขุดคลองบุญสัมพันธ์ เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของท่านทั้งสอง ชาวบ้านจึงช่วยกันตั้งชื่อคลองนี้ว่า คลองบุญสัมพันธ์ จึงเป็นที่มีของชื่อหมู่บ้าน ว่า บุญสัมพันธ์ มีนายประเทือง เหรียญลำดับญาติ เป็นกำนัน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 2,916 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 205 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 870 คน แบ่งเป็น
- ชาย 450 คน
- หญิง 420 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกยางพารา และทำสวนผลไม้ อาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา ส่วนการทำสวนผลไม้ที่ทำเป็นธุรกิจมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ปลูกไว้ทานเอง ถ้าเหลือทานแล้วจึงจะขาย มีคลองบุญสัมพันธ์ซึ่งเชื่อม 4 ตำบล ไหลผ่าน และมี สระน้ำหนองโพรง ซึ่งใช้เพื่อการเกษตร และเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาของหมู่บ้าน ตำบล
พื้นที่หมู่ที่ 8 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 2,13 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1,4,5 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านนา , ตำบลทุ่งควายกิน
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 10,12 ตำบลบ้านนา
หมู่ที่ 9 บ้านวังยาง
หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านนา แยกมาจากหมู่ที่ 5 บ้านอู่ทอง ตำบลบ้านนา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2533 เดิมพื้นที่หมู่ที่ 9 มีสภาพเป็นป่า มีต้นยางป่าใหญ่ จำนวนมาก ชาวบ้านได้นำมาใช้ในการสร้างบ้านที่อยู่อาศัย จนในปัจจุบันไม่มีต้นยางใหญ่ให้เห็น เหลือไว้เพียงแต่ชื่อที่ชาวบ้านเรียก ว่า บ้านวังยาง ปัจจุบันมี นายสำเนา สุทธิสถิตย์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 3,010 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 140 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 620 คน แบ่งเป็น
- ชาย 309 คน
- หญิง 311 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบสูงสลับกับพื้นที่ราบต่ำเล็กน้อย มีลำคลองผ่านตามธรรมชาติ 2 สาย คือ คลองห้วยมะไฟ คลองวังยาง และมีคลองบุญสัมพันธ์ ซึ่งเป็นคลองชลประทานผ่านกลางหมู่บ้าน อีก 1 สาย
พื้นที่หมู่ที่ 9 มีอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 ,6 ตำบลบ้านนา
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 8,5 ,2 ตำบลบ้าน
หมู่ที่ 10 บ้านล่าง
แต่เดิมสมัยก่อนจะเรียกบริเวณหมู่บ้าน ว่า วัดดอน เนื่องจากเคยมีวัดตั้งอยู่บริเวณกลางหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันเป็นที่อยู่พักอาศัยของชาวบ้าน และเป็นสวนยางพารา ....ต่อมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2538ได้แยกมาจากหมู่ที่ 1 โดยมี นายศักดา รัตตานนท์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน และด้วยพื้นที่ของหมู่บ้านจะอยู่ทางตอนล่างสุดของเขตตำบลบ้านนา จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ว่า บ้านล่าง ปัจจุบัน มีนางวารุณี แผลงสร เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 1,686 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 108 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 515 คน แบ่งเป็น
- ชาย 255 คน
- หญิง 260 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ของหมู่บ้านจะเป็นที่ราบลุ่มและต่ำเป็นแอ่งรองรับน้ำ เป็นผลให้เกิดน้ำท่วมทุกปี
พื้นที่หมู่ที่ 10 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งควายกิน
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตเทศบาลตำบลเมือง
หมู่ที่ 11 บ้านมาบฆ้อ
หมู่ที่ 11 บ้านมาบฆ้อ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2540 โดยแยกมาจากหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 7 ชื่อหมู่บ้านนั้นมาจาก มี ต้นฆ้อ ขึ้นมากมายบริเวณที่ราบริมคลอง เรียกว่า มาบ ต้นฆ้อ มีลักษณะคล้ายต้นตาล จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ว่า มาบฆ้อ มีนายล๊อต วรรณศิริ
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 5,833 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 115 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 579 คน แบ่งเป็น
- ชาย 274 คน
- หญิง 305 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ของหมู่บ้านจะเป็นที่เนินและราบลุ่มเหมาะในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร (ทำสวนและไร่) พื้นที่หมู่ที่ 11 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 7,3 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งควายกิน
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 5,9 ตำบลบ้าน
หมู่ที่ 12 บ้านนา
หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านนา แยกมาจากหมู่ที่ 10 บ้านล่าง ตำบลบ้านนา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2541สมันนั้นมีนายศักดา รัตตานนท์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน บริเวณพื้นที่ของหมู่ที่ 12 จะมีสภาพเป็นพื้นที่ราบ เหมาะสำหรับปลูกข้าว คนส่วนใหญ่จึงมีอาชีพทำนา ชาวบ้านจึงเรียกว่าหมู่บ้าน บ้านนา ปัจจุบันมีการตั้งโรงงาน จึงทำให้การทำนาน้อยลง ปัจจุบันมีนายกำพล หอมชื่น เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 1,693 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 94 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 492 คน แบ่งเป็น
- ชาย 247 คน
- หญิง 245 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เป็นผลทำให้น้ำท่วมทุกปี พื้นที่หมู่ที่ 12 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านนา
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 10 ตำบล
หมู่ที่ 13 บ้านคลองอ่าง
หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านนา แยกมาจากหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งเค็ด ตำบลบ้านนา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2541 โดยมี นายจรัล เหรียญลำดับญาติ เป็นผู้ใหญ่บ้าน บริเวณพื้นที่ของหมู่ที่ 13 จะมีลำรางของน้ำไหลผ่านบริเวณเขตแดนหมู่บ้าน และจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีลักษณะกว้างใหญ่คล้ายอ่าง ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนั้นว่า คลองอ่าง จึงเป็นที่มีของชื่อหมู่บ้าน ว่า คลองอ่าง ปัจจุบันมี นายมานพ ปราดเปรื่อง เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ลักษณะทั่วไป
มีเนื้อที่ 5,038 ไร่
มีจำนวนครัวเรือน 130 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 575 คน แบ่งเป็น
- ชาย 273 คน
- หญิง 302 คน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่เนิน และราบมีลำรางน้ำไหลผ่านเขตแดนกั้นหมู่บ้านทำให้เหมาะต่อการทำอาชีพด้านการเกษตร
พื้นที่หมู่ที่ 13 มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2,8 ตำบลบ้านนา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านนา
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านนา